โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้มอบโรงพิมพ์นิติสาส์น ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ส่วนตัวของท่านให้กับทางมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2483 เพื่อเป็นหน่วยงานที่จัดพิมพ์คำบรรยายและเอกสารต่างๆ ทางการศึกษา ได้ดำเนินการมาช่วงระยะเวลาหนึ่งและปิดกิจการลงเมื่อปี พ.ศ.2501 ซึ่ง ณ ขณะนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ซึ่งมีรายวิชาที่ต้องผลิตสื่อการสอนมาก ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงเห็นว่าควรฟื้นฟูก่อตั้งโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2504 โดย ดร.อดุล วิเชียรเจริญ เลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะนั้น ด้วยเห็นความสำคัญของการสร้างตำราให้กับมหาวิทยาลัย ได้เชิญ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ลุลิตานนท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจัดทำและพิมพ์ตำรา มีหน้าที่อำนวยการและส่งเสริมการจัดทำตำราและหนังสือคู่มือการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นับเป็นโรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานราชการซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรสูงสุด ดังนั้นเมื่อท่านสั่งงานพิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับราคาที่ยุติธรรมและเป็นกันเอง นอกจากนี้ ทางโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีเครื่องพิมพ์คุณภาพสูง ที่สามารถตอบสนองการบริการด้านการพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วและคมชัด รวมไปถึงบุคลากรฝ่ายงานพิมพ์ที่ชำนาญ และฝ่ายบรรณาธิการที่มีประสบการณ์ในด้านการตรวจต้นฉบับ ออกแบบ จัดหน้า และพิสูจน์อักษรเป็นอย่างดี
จากผลงานที่ผ่านมากิจการโรงพิมพ์เจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยโรงพิมพ์มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการแก่คณาจารย์ นักศึกษามาโดยตลอด ทั้งนี้การที่โรงพิมพ์ประสบความสำเร็จได้เนื่องจากการสนับสนุนจาก อธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ ผู้บริหารโรงพิมพ์และประชาคมธรรมศาสตร์ทุกท่าน
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดตั้งเครื่องพิมพ์ดิจิตอลและออฟเซตอัตราการผลิตสูง เพื่องานพิมพ์คุณภาพเยี่ยม มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดซื้อเครื่องพิมพ์ดิจิตอลรุ่นใหม่ สามารถพิมพ์งานได้ตังแต่ 1 เล่มขึ้นไป ในเวลาอันรวดเร็ว โดยเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ครั้งละ หนึ่งด้าน (simplex) หรือสองด้าน (หน้า-หลัง) พร้อมกันอัตโนมัติ (suplex) ด้วยความเร็ว 140 หน้าต่อนาที ด้วยความละเอียดสูงถึง 1200×600 dpi ลงบนกระดาษปอนด์ กระดาษถนอมสายตา กระดาษอาร์ตมันและกระดาษอาร์ตด้าน ด้วยค่าใชจ่ายที่ถูกกว่าการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซทแต่คุณภาพใกล้เคียงกัน
นอกจากเครื่องพิมพ์ดิจิตอลแล้ว ทางโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดซื้อ เครื่องพิมพ์ออฟเซท 4 สี สามารถพิมพ์กระดาษขนาดใหญ่สุดถึง 530 x 750 มิลลิเมตร ด้วยความเร็ว 15,000 แผ่นต่อชั่วโมง ลงบนกระดาษที่มีความหนา 0.04 มิลิเมตรขึ้นไป โดยโรงพิมพ์ได้เริ่มให้บริการอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ในการจัดพิมพ์ ตำรา เอกสาร ใบปลิวประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ได้ท่านสามารถส่งไฟล์ต้นฉบับเป็น PCL6, Post Script,ASCII, TIFF, PDF และ PDF/X หรือสูงกว่า ให้ทางโรงพิมพ์ได้ทาง E-mail, CD หรือ DVD